หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ

หลักสูตรวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ (วศ.ม.)
Master of Engineering Program in Defense Engineering and Technology (M.Eng)

ที่มาของหลักสูตร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางการทหารที่มีความเชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับระดับชาติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมือด้านการเรียนการสอน การสร้างองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยุทโธปกรณ์/การป้องกันประเทศ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและประเทศชาติได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน ผ่านการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ ซึ่งประกอบด้วยแขนงวิชาต่างๆ 7 แขนงวิชา คือ

1.แขนงวิชาวิศวกรรมโยธาและวัตถุระเบิด
2.แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อการป้องกันประเทศ
3.แขนงวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อการป้องกันประเทศ
4.แขนงวิชาวิศวกรรมสิ่งแวกล้อมเพื่อการป้องกันประเทศ
5.แขนงวิชาวิศวกรรมโลหการเพื่อการป้องกันประเทศ
6.แขนงวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อการป้องกันประเทศ
7.แขนงวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์เพื่อการป้องกันประเทศ

โครงสร้างหลักสูตร
1. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี
2. โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก1 (วิทยานิพนธ์อย่างเดียว) 36 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก2 (วิทยานิพนธ์และรายวิชา) 36 หน่วยกิต
1) หน่วยกิตรายวิชาเรียน 18 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา 0-9 หน่วยกิต
- รายวิชาเลือก 6-15 หน่วยกิต
2) หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตรและแผนการศึกษา

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมบัณฑิต หรือวิทยาศาสตร์บัณฑิตในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณา แล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์เข้าสมัครศึกษาได้

2. มีผลทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 30 คะแนน หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 คะแนน IELTS ตั้งแต่ 3.0 รับเข้าศึกษาได้ แต่มีเงื่อนไขให้เป็นไปตามระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ผู้สมัครในหลักสูตรทั้ง แผน ก แบบ ก1 (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) แบบ ก2 (ทำวิทยานิพนธ์และรายวิชา) จะต้องผ่านการพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ผู้สมัครที่ สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/เทียบเท่ามาก่อน แล้วจึงมาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ผู้สมัครต้องนำใบคะแนนรายวิชา (Transcript) ในระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ส่งเป็นเอกสารประกอบด้วย